ฝึกฟังภาษาอังกฤษรับรองเป๊ะเวอร์ คุณลองหรือยัง?

หากจัดลำดับทั้ง 4 ทักษะของการเรียนภาษาอังกฤษ จะไล่เรียงมาดังนี้คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยขั้นแรกเราต้องฝึกฟังให้เป็นและเข้าใจในความหมายของข้อความ เพื่อให้ทักษะขั้นอื่น สามารถเป็นไปได้อย่างลื่นไหลตามกันมา โดยการฝึกฟังภาษาอังกฤษ หากเลือกแหล่งการเรียนรู้ที่ดีก็จะทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อด้วย

คู่มือการฝึกฟังภาษาอังกฤษแบบง่าย ๆ แค่ใช้มือถืออย่างเดียวก็เก่งได้

เมื่อไหร่คุณควรฝึกฟังภาษาอังกฤษ

หากอยากเก่งภาษาอังกฤษ มีความมั่นใจในการสื่อสารทุกรูปแบบ ต้องการหาโอกาสการทำงานดี ๆ กับองค์การต่างชาติแบบที่ไม่ต้องพึ่งโปรแกรมช่วยแปล หรืออยากไปเที่ยวต่างประเทศแบบไม่ต้องมีไกด์ การฝึกฟังภาษาอังกฤษนี่แหละที่จะช่วยให้เรื่องเรานี้เป็นไปได้

ลองมาทดสอบกันดูว่า หากคุณพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ 1  ในสี่ข้อนี้คงถึงเวลาแล้วที่ ควรจะวางแผนพัฒนาการฟังภาษาอังกฤษกันสักที

  • คุณไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทั้ง ๆ ที่เรื่องที่พวกเขาพูดคือการสื่อสารทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  • คุณเกิดอาการเบื่อหน่ายจากการสรรหาวิธีที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะการฟังของตัวเอง ไม่ว่าวิธีอะไรก็เหมือนจะไม่ได้ผลเอาเสียเลย
  • คุณคิดว่าการฟังและทำความเข้าใจในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยากเกินความสามารถของตัวเอง
  • คุณออกอาการไม่มั่นใจ รู้สึกอายเมื่อไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ทั้ง ๆ ที่ทุกช่วงระดับการศึกษาก็ได้เล่าเรียนวิชาภาษาอังกฤษมาโดยตลอดแท้ ๆ
ทักษะการฝึกฟังภาษาอังกฤษ
ฝึกฟังภาษาอังกฤษอย่างให้ถูกต้องเป็นสี่งที่สำคัญมาก

คำถามที่พบบ่อยของคนที่กำลังอยากเก่งทักษะการฟัง

  1. นั่งฟังเรื่องเดิมเรื่องเดียวซ้ำ ๆ และทดลองจับใจความด้วยการเขียนดูก็สามารถทำได้ แต่กลับแปลไม่ออก ถ้าอย่างนั้นเราควรอ่านให้เป็น แปลกให้เข้าใจก่อนที่จะฝึกการฟังและเขียนตามหรือเปล่า ?
  2. การฝึกฟังด้วยสำเนียงอเมริกันแบบช้า ๆ ได้ผลดีไหม? (การฟังแบบ voa)
  3. อะไรคือหลักในการฝึกทักษะการฟัง เพราะลองฝึกฟังทั้งวันแต่ก็ยังจับใจความไม่ได้สักที
  4. ฝึกฟัง BBC 6 minute English ทุกวัน จะช่วยเรื่องการฟังและฝึกสำเนียงให้ดีขึ้นจริงหรือ ?
  5. ฟังภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ได้ผลแค่ไหน ?
  6. มีเว็บไหนที่ช่วยฝึกทักษะการฟังน่าเชื่อถือ?
  7. ฝึกฟังภาษาอังกฤษ อย่างไรถือว่าการเรียนที่ถูกวิธี?
  8. ควรฝึกฟังวันละกี่ชั่วโมง และควรเริ่มต้นจากไหนดี???? เป็นต้น

เคยมีคนบอกเอาไว้ว่าให้ฝึกการฟังโดยที่ยังไม่ได้ต้องจดหรือเขียนอะไรตาม และบางส่วนก็แนะนำว่าไม่ควรฝึกการฟังแบบ voa เพราะจะพูดช้า และพัฒนาการฟังแบบก้าวกระโดดได้ยาก ซึ่งนอกจากนี้ยังมีคำถามและคำตอบมากมายเกี่ยวกับเรื่องของการฝึกฟัง โดยข้อสงสัยหลัก ๆ คือ ควรเรียนอย่างไรให้ถูกต้องให้ได้ผลจริง โดยมีคำตอบ ดังนี้ ….

การฝึกฟังภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องมีผลกระทบอย่างไร?

  • ถ้าต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าคอร์สเรียนการฟัง แต่กลับได้การเรียนที่ผิดหลัก ก็เท่ากับว่าเสียเงินไปฟรี ๆ อีกทั้งการเรียนที่เริ่มต้นที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมากและจะเกิดความเบื่อหน่ายที่ไม่อยากจะเรียนต่ออีกด้วย และนั่นส่งผลกระทบต่อ ๆ มาก็คือทำให้เกิดความไม่มั่นใจเมื่อต้องการจะใช้งานหรือใช้งานผิดพลาดทำให้การสื่อสารผิดไป นั่นเพราะการเรียนภาษาอังกฤษของเราไม่ได้ผลสักที
  • ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรก็ตาม หากเราทำความเข้าใจได้ว่าคนที่เราสนทนาด้วยต้องการสื่อสารเรื่องอะไร เราก็จะสามารถโต้ตอบกลับไปได้ดี และทำให้เกิดการสนทนาต่อที่ลื่นไหล ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่มีทักษะทางด้านการฟังเลย ออกอาการทำให้คนที่คุยด้วยรู้สึกว่าการสนทนามีปัญหา เช่นนั้นจะมีใครที่อยากจะคุยต่อกับเราล่ะ ?
  • หากมองไม่เห็นความสำคัญในการฝึกทักษะการฟัง ก็จะเกิดการส่งผลกระทบต่อทักษะอื่น ๆ ตามมาอีก ฟังไม่เข้าใจ ก็พูดตอบกลับไปไม่ได้ จับใจความมาเขียนไม่ได้ ถือว่าล้มเหลวทั้งระบบโดยสิ้นเชิง และนั่นยิ่งทำให้การพัฒนาภาษาอังกฤษของเราไม่ไปไหนสักที
ฝึกฟังภาษาอังกฤษยังไง
การฝึกฟังภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องจะทำให้คุณเรียนนานเเค่ไหนก็เก่งไม่ได้

ความผิดพลาดมักจะเจอบ่อยสำหรับการฝึกฟังภาษาอังกฤษ

1. หยุดการสนทนาเพื่อทำความเข้าใจในประโยค

การจะทำความเข้าใจคำพูดแน่นอนว่าจำเป็นต้องรู้ความหมายของคำ แต่การต้องถอดความหมายของทุกคำก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำในระหว่างการสนทนา เพราะในเวลาที่คุณกำลังใช้ความคิดว่าอีกฝ่ายพูดอะไรไปในประโยคก่อนหน้านี้ แต่คู่สนทนาไม่ได้มาหยุดรอให้คุยนั่งแปลเหมือนกับเวลา บทสนทนายังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่คุณหยุดความสนใจไปในประโยคแล้ว ทำให้เรื่องราวหลังจากนี้ที่อีกฝ่ายพูดไม่มีความหมายอีกต่อไป ดังนั้นควรรับฟังและจับใจความไปทีละส่วน เพราะแต่ละข้อความอาจจะมีการเชื่อมต่อระหว่างกันที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

สำหรับผู้ฟังที่ยังไม่ชำนาญเรื่องภาษาอังกฤษมากนัก หลักการ ฝึกฟังภาษาอังกฤษ  หรือ Listening Skill นั้นเอง ให้ลองจับใจความคำศัพท์ที่คุณพอเข้าใจความหมาย จากนั้นลองสังเกตน้ำเสียงและบริบทอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยว่าอีกฝ่ายต้องการจะสื่อสารอะไร เป็นการตั้งคำถาม หรือเป็นการแสดงความคิดเห็น ซึ่งสำหรับในรูปแบบประโยคคำถาม ให้หลักการง่าย ๆ ในการจับใจความดังนี้

“Who” ถามว่าเป็นใคร

  • ถามถึงบุคคล
  • ยกตัวอย่างเช่น Who forgot their pen? ใครลืมปากกา
  • นั่นหมายถึงการตั้งคำถามที่คำตอบจะเป็นชื่อของใครคนใดคนหนึ่ง

“What” ถามว่าอะไร

  • ถามเกี่ยวกับ สิ่งของ / การกระทำ / กิจกรรม / คุณสมบัติ
  • ยกตัวอย่างเช่น What kind of book is that?  อันนั้นเป็นหนังสือประเภทอะไร
  • คำตอบที่ได้จะเป็นรูปแบบของคำนาม

“When”ถามว่าเมื่อไร

  • ถามเกี่ยวกับเวลา
  • ยกตัวอย่างเช่น When is your birthday? วันเกิดของคุณเมื่อไหร่
  • ในคำตอบก็จะเกี่ยวกับเวลาที่ระบุเป็นตัวเลขหรือช่วงของเวลา (เช้า/กลางวัน/เย็น)

“Where” ถามว่าที่ไหน

  • การตั้งคำถามถึงสถานที่ที่มีเรื่องราว
  • ยกตัวอย่างเช่น Where do you live ? คุณอยู่ที่ไหน
  • แน่นอนว่าคำตอบก็คือชื่อของสถานที่ที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคำถาม

“Why” ถามว่าทำไม

  • ถามถึงเหตุผล
  • ยกตัวอย่างเช่น Why did you come late? ทำไมถึงมาสาย
  • โดยคำตอบจะเป็นการอธิบายถึงสถานการณ์หรือเรื่องราวที่เป็นเหตุ คุ้น ๆ กันดีในการตอบด้วย Because

Which” ถามว่าอันไหน คุณละเลือกอะไร

  • ใช้แทน “What” ตอนถามเกี่ยวกับตัวเลือก ไว้ถามเมื่อมี 2 ตัวเลือกขึ้นไป
  • ยกตัวอย่างเช่น  Which one do you like? ยกตัวอย่างเช่น คุณชอบอันไหน
  • คำตอบคือ 1 ในตัวเลือกของบางอย่างที่อยู่ในคำถาม

“Whose” ถามว่าของใคร

  • ถามหาเจ้าของ
  • ยกตัวอย่างเช่น Whose book is this? หนังสือเล่มนี้ของใคร
  • คำตอบคือชื่อของใครคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของของสี่งของเหล่านั้นที่กำลังพูดถึง

“How” ถามว่าอย่างไร

  • ถามเกี่ยวกับ จำนวน (กี่อัน) ปริมาณ (เท่าไร / เท่าไหน / แค่ไหน) วิธีการ (อย่างไร) ความถี่ (บ่อยแค่ไหน)
  • How many phones do you have? คุณมีโทรศัพท์กี่เครื่อง
  • คำตอบขึ้นอยู่กับบริบทของประโยค ตอบเป็นตัวเลขเมื่อถามเป็นจำนวน ปริมาณ ความถี่หรือตอบเป็นคำอธิบายเมื่อถามถึงความรู้สึกหรือวิธีการ

เห็นไหมว่าอะไรคือเรื่องสำคัญ คำตอบก็คือ Keyword นั่นเอง หากจับคำศัพท์ได้ ก็สามารถจะช่วยให้การสื่อสารง่ายขึ้นมากนั่นเอง และนี่คือวิธีการที่ผู้ที่ฝึกทักษะภาษาอังกฤษเบื้องต้นควรเข้าใจและเลือกใช้ให้เป็นนั่นเอง

วิธีฝึกฟังภาษาอังกฤษให้ก้าวกระโดด
คุณควรลองดูหลายรูปเเบบของการฝึกฟังภาษาอังกฤษเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเอง

2. ไม่กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้คำศัพท์

เป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างยิ่งสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษ อย่าคิดว่าการจับท่าทางและสีหน้าที่คู่สนทนาจะทำให้คุณเข้าใจเรื่องราวได้ด้วยการตีความไปเองตามความเข้าใจ คุณจำเป็นที่จะต้องรู้จักคำศัพท์เพื่อให้หา Keyword และจับใจความประโยคได้ และนี่คือสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาทักษะการฝึกฟังภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน

3. ไม่มีความมั่นใจ ไม่กล้าสื่อสารสักที

ฝึกฟังมาเพื่ออะไร ? หากไม่นำไปใช้งาน อย่าให้ความไม่กล้ามาทำลายโอกาสของคุณ ไม่ต้องกังวลว่าที่คุณพูดไปมันจะดูน่าอายหากคุณพูดผิด เรียนรู้ที่จะก้าวผ่านความกลัว ก้าวข้ามความไม่มั่นใจในตนเอง ลองผิดลองถูกให้เป็นจะได้พบข้อผิดพลาดของตัวเองและสามารถนำไปแก้ไขได้ ดังนั้นนอกจากจะฝึกฟังบ่อย ๆ แล้วอย่าลืมที่จะออกไปพูดบ่อย ๆ ด้วย เพื่อให้ทักษะภาษาอังกฤษของคุณได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างเต็มที่ในทุก ๆ ด้าน

เคล็ดลับในการฝึกฟังภาษาอังกฤษ

เริ่มต้นให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง หากเดินตามแนวทางที่ถูกต้องตั้งแต่แรกก็จะทำให้การเรียนง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อไหร่ก็ตามที่พบข้อผิดพลาด ก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที ซึ่งการฝึกฟังภาษาอังกฤษ มีเคล็ดลับที่ขอแนะนำดังนี้

1. ฝึกฟังให้เป็นความเคยชิน

ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งวันเพื่อมานั่งฝึกฝนการฟัง เพียงแค่ลองปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์บางกิจกรรมให้มีเวลาสำหรับการฟังที่มากขึ้น อย่างเช่นจากที่เคยใช้เวลานั่งทำอาหารแบบธรรมดาอยู่ในครัว ก็เปิดเพลงหรือรายการภาษาอังกฤษคลอตามไปด้วย แล้วค่อย ๆ ปรับมาเป็นฝึกดูรายการทำอาหารภาษาอังกฤษ

หรือจะเป็นจากเดิมที่เคยเปิดวิทยุรายการทั่วไปฟังระหว่างนั่งรถไปทำงาน ก็ปรับมาเป็นลองฝึกฟังช่องข่าวสารภาษาอังกฤษดู หรืออาจจะเริ่มจากการสร้างความผ่อนคลายให้รู้สึกไม่น่าเบื่อก็ปรับมาเป็นฟังเพลงดนตรีสนุก ๆ แทน พร้อมกับลองพยายามตีความหมายของบทเพลงไปด้วย ฝึกปรับกิจกรรมประจำวันเหล่านี้ให้มีภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาท จะช่วยพัฒนาศักยภาพการฟังของคุณให้ดีขึ้นอย่างได้ผลแน่นอน

ฟังภาษาอังกฤษ
ฝึกฟังภาษาอังกฤษเชิงรุก

2. แนะนำ 5 เว็บไซต์คุณภาพสำหรับการฝึกภาษาอังกฤษ

  • bbc.com เว็บไซต์ข่าวสารชื่อดัง ที่พร้อมรายงานข่าวเป็นภาษาอังกฤษแบบสด ๆ ด้วยสำเนียงที่เป๊ะเวอร์
  • focusenglish.com แหล่งรวบรวมบทสนทนาหัวข้อต่างๆ ที่พบเจอได้ทั่วในชีวิตประจำวัน
  • eslfast.com ศูนย์กลางเรื่องสั้นที่พร้อมอ่านให้ฟัง มาพร้อมบททดสอบช่วยฝึกฝน
  • 5minuteenglish.com เว็บไซต์ช่วยเสริมสร้างการฟังและการอ่านที่ถูกต้อง ฟังวันละบทก็เพียงพอแล้ว
  • newfiction.com สอนการพูดและฟังด้วยสำเนียงแบบอเมริกัน ด้วยลูกเล่นมากมายทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อที่ว่าเหมาะสมสำหรับใครที่กำลัง ฝึกฟังภาษาอังกฤษ นะคะ

3. แนะนำ 7 ช่อง YouTube ที่น่าสนใจสำหรับการฝึกภาษาอังกฤษ

  • VOA – Voice of America ที่รวบรวมข่าวสดพร้อมรายงาน ดำเนินรายการด้วยสำเนียงอเมริกัน
  • BRAINCRAFT ฝึกการฟังควบคู่ไปกับการเรียนรู้เรื่องจิตวิทยา ประสาทวิทยา และพฤติกรรมมนุษย์
  • EXTRA CREDITS ให้ความรู้ภาษาอังกฤษด้าน GAME DESIGN, ประวัติศาสตร์โลก, นิยายวิทยาศาสตร์, และการเมือง
  • SIMPLE HISTORY ฝึกฟังภาษาอังกฤษกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่น่ารู้
  • CRASHCOURSE เว็บไซต์ที่ให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษแบบจัดเต็ม
  • TEDTALKS ฝึกฟังภาษาอังกฤษสำหรับผู้เริ่มต้นนำเสนอในรูปแบบการให้ข้อมูลความรู้ทั่วไป
  • THE SCHOOL OF LIFE  การฟังภาษาอังกฤษกับความรู้ด้านจิตวิทยา

4. จดจำคำศัพท์

ทบทวนความจำของคุณดู ด้วยการลองจดบันทึกคำศัพท์ที่น่าสนใจจากเรื่องราวที่คุณฟังมาลงในสมุด เพื่อทดสอบว่าคุณสามารถจับใจความกับสิ่งที่ได้ยินได้ดีแค่ไหน การเขียนจะช่วยสร้างการจดจำที่ดีขึ้นและไม่ลืมที่จะหาความหมายของคำเหล่านั้นและฝึกแต่งข้อความสักหนึ่งประโยคดู หรือลองทายเล่น ๆ ดูว่าศัพท์คำนั้นจะหมายถึงอะไร โดยดูจากบริบทในเรื่องราว เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณเข้าใจความหมายของคำศัพท์แล้ว จะช่วยให้คุณเข้าใจรูปแบบการใช้งานของคำศัพท์นั้น ๆ ด้วย

ถ้าคุณยังกังวลว่าจะจดจำศัพท์ใหม่ไม่ได้ต้องดูเพิ่มเติมวิธีช่วยให้คุณจดจำ คําศัพท์ภาษาอังกฤษแบบกล้วย ๆ ของ Eng Breaking เว็บไซต์การเรียนการสอนงภาษาอังกฤษชั้นนำในประเทศไทย

5. ฟังน้อยแต่บ่อยอย่างสม่ำเสมอ

คุณไม่จำเป็นที่จะต้องรีบร้อนในการเรียน ค่อย ๆ ปรับรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายไปเสียก่อน เริ่มจากการฟังเนื้อหาน้อย ๆ แต่ฝึกฟังภาษาอังกฤษ บ่อย ๆ และความสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความชินและมีการพัฒนา เริ่มจากประโยคสั้น ๆ ในแต่ละวัน แรก ๆ อาจจะยกมาจากหัวชื่อรายการ หัวข้อข่าวหรือชื่อเพลงเป็นต้น จากนั้น ๆ ค่อยฝึกทำความเข้าใจความหมายในเนื้อหาของข่าว ละครหรือเนื้อเพลง ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นการไล่เรียงชุดความคิดให้มีลำดับเป็นขั้นตอนมากขึ้น เป็นการฝึกความเชื่อมโยงของเรื่องราวที่ได้ผลและยั่งยืน

6. ตั้งเป้าหมายอย่างไม่กดดัน

หลาย ๆ คนในช่วงเริ่มเรียนแรก ๆ จะตั้งความหวังกับการเรียนเอาไว้สูง เช่น หลังจากการเรียน 2 เดือนจะสามารถถอดความหมายของเพลงได้ หรือ เมื่อเข้าสู่การเรียนคอร์สใหม่เราจะฟังได้โดยไม่ต้องดูศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการตั้งเป้าหมายก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ช่วยฝึกฝนให้คุณมีความพยายามมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรคาดหวังไว้สูงจนกลายเป็นการกดดันมากไป เพราะจะทำให้การเรียนดูน่าเบื่อและเกิดการต่อต้านได้เมื่อพบว่ามันไม่ได้ดั่งใจสักที

ค่อย ๆ เริ่มจากเป้าหมายเล็ก ๆ ในรูปแบบวิธีการที่สามารถทำได้ไม่เกินตัว เช่น อาจตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าในช่วงแรกของการเรียนจะหาเพื่อนชาวต่างชาติคนหนึ่งให้ได้ แล้วค่อย ๆ ขยับเป้าหมายไปทีละเล็กละน้อยด้วยการกำหนดเอาไว้ว่าจะสามารถสื่อสารกับเขาได้เข้าใจมากขึ้น มีศัพท์ใหม่ ๆ ไปลองพูดคุยและถามกับเขาได้ เช่นนี้เป็นต้น

7. ใช้เครื่องมือในการช่วยฝึกฟังภาษาอังกฤษ

อย่าฝืนด้วยการเรียนรู้แบบไม่ต้องพึ่งพาอะไรเพราะคิดว่าจะช่วยให้เกิดความพยายามที่มากขึ้น ทุก ๆ อย่างควรเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่หนักแน่นและได้ผล และการใช้เครื่องมือช่วยฝึกทักษะการฟังก็เป็นแนวทางที่ดีและน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะให้ความสะดวก รวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งในปัจจุบันก็มีอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมายที่จะช่วยให้การฝึกฟังง่ายขึ้น หลัก ๆ เลยคือสมาร์ทโฟน เป็นแหล่งรวมผู้ช่วยชั้นดี ที่จะรวบรวมแอปพลิเคชันหรือช่องทางอื่น ๆ ที่ดีในการช่วยสอนภาษาอังกฤษให้ ซึ่งหลาย ๆ บริการก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ด้วย

สรุป

  • สำหรับการฝึกฟังภาษาอังกฤษเน้นการฟังที่มาจากการพูดด้วยความรู้สึกจริง ๆ มากกว่าการฟังในรูปแบบของเทปสอนออกเสียงทั่วไป
  • ไม่ต้องกดดัน ไม่ต้องจดจ่อ ฟังด้วยความตั้งใจและผ่อนคลาย เลือกจับ Keyword ให้เป็น
  • ลองฝึกฝนในการพูดตามสิ่งที่ได้ยิน โดยใส่อารมณ์ ความรู้สึก ให้มีน้ำเสียงร่วมกับเรื่องราว
  • ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ ปรับจากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
  • มีความมั่นใจและก้าวข้ามความกลัวที่จะสื่อสาร

จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วการฝึกฟังภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด และสามารถมองให้เป็นเรื่องสนุกได้อีกด้วย เพียงแค่มีใจที่จะเรียนรู้ เปิดกว้างที่จะรับทุกแหล่งเรียนรู้ ฝึกฝนเรียนรู้อย่างเข้าใจไม่ต้องรีบร้อน ที่สำคัญต้องมั่นใจในตัวเอง เพียงเท่านี้การพัฒนา Listening Skill ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากอีกต่อไป

คุณก็อาจจะสนใจ:

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *