แน่นอนอยู่แล้วว่าถ้าเราเก่งภาษาอังกฤษเราจะมีโอกาสก้าวหน้ามากขึ้น แต่ปัญหาที่ทุกคนมักจะเจอบ่อยเมือเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเองก็คือไม่มั่นใจในการสื่อสาร ไม่กล้าออกเสียง ทำให้เรียนนานไปหลายๆ ปีแต่ยังฟังไม่ค่อยชัด พูดไม่ค่อยคล่องแคล่ว วันนี้ Eng Breaking จะเปิดเคล็ดลับในการฝึกฟังภาษาอังกฤษ ที่ยอดเยี่ยม ที่รับรองว่าเรียนแล้วแก่ง ฟังได้โต้ตอบได้แบบกล้วยๆ ดังนี้
ดูเพิ่มเติม: ฝึกฟังภาษาอังกฤษยังไงให้ก้าวกระโดด ที่พลาดไม่ได้!!!
ความสำคัญของการฝึกฟังในภาษาอังกฤษ
เมื่อพูดถึงการเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งเราจะพูดถึงสี่ทักษะคือ ฟัง –พูด- อ่าน- เขียน ซึ่งสำหรับในส่วนของการฟัง เป็นทักษะที่มีความสำคัญมากที่จะทำให้คุณได้เข้าใจเรื่องที่คนอื่นกำลังสนทนา และสามารถสร้างการสื่อสารได้ ในทางกลับกันหากเริ่มต้นจากการฟังที่ไม่เข้าใจ ทำการการสื่อสารหลังจากนั้นเป็นเรื่องยากตามมาเช่นกัน
โดยเฉพาะในการทำงาน ถ้าหากมีความเข้าใจในคำสั่งงานจากทางหัวหน้างานหรือทางลูกค้า ก็จะสามารถทำให้คุณสร้างการทำงานหรือการบริการที่ดีที่สุดได้ และนั่นทำกับการเติบโตในหน้าทที่การงานที่มากขึ้นเช่นกัน
ความพลาดที่มักจะเจอบ่อยเมื่อคุณฝึกฟังภาษาอังกฤษ พร้อมเผยวิธีการแก้ไขปัญหา
คุณเคยถามตัวเองไหมว่าทำไมกันนะ ทั้ง ๆ ที่เรียนภาษาอังกฤษมาตั้งหลายปี คำศํพท์อะไรก็มีมากมาย แต่กลับต้องเจอปัญหาในการพูดและฟัง มาดูกันว่านั่นเป็นเพราะคุณเจอกับปัญหาเหล่านี้อยู่หรือเปล่า
1. ใช้เวลายังไม่เพียงพอสำหรับการฝึกฟัง
การเรียนภาษาไหนก็ตามเราต้องการใส่ใจและใช้เวลาเพียงพอสำหรับการฝึกฟัง พูด อ่าน เขียนถึงจะเก่งได้ ข้อพลาดอย่างแรกที่ผู้เรียนหลายคนจะเจอเมื่อฝึกทะษะการฟังคือใช้เวลาน้อยไปในการฟังในแต่ละวัน อย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาหนึ่งถึงสองชั่วโมงสำหรับการฝึกฟัง ภายในสามถึงหกเดือนรับรองว่าทักษะการฟังของคุณจะมีความก้าวหน้าอย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ก็ควรเป็นการจัดสรรเวลาที่เหมาะสม อย่าฝืนจนเกินไป ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้ได้ครบตามเวลาที่กำหนดเป๊ะ หากรู้สึกว่าเบื่อหน่ายในการเรียนบางครั้ง ก็หาเวลาผ่อนคลายให้กับตัวเองบ้าง เพื่อให้การเรียนลื่นไหลและไปต่อได้อย่างไม่สะดุด
2. ไม่รู้วิธีจับเนื้อหาหลักและ keyword สำคัญ
ข้อผิดพลาดที่สองเมื่อผู้เรียนฝึกฟังภาษาอังกฤษก็มักจะเจอคือไม่รู้วิธีการจับคำศัพท์หลัก ฟังแต่ไม่เข้าใจว่ากำลังฟังอะไร เลยฟังไปหลายรอบแต่ก็ยังไม่ได้ผล ดังนั้นเมื่อคุณเลือกเรียนบทความหนึ่งควรลองจับคำศัพท์หลักพื่อเดาความหมายของบทความที่ได้ฟัง ว่าจะเข้าใจกี่เปอร์เซนต์ก่อนที่จะดูความหมายทั้งหมดของเรื่องราวและบริบทที่เกี่ยวข้องผ่าน Subtitle มันจะทำให้ทักษะการฟังของคุณดีเร็วขึ้น คุณสามารถเข้าใจ 70-80% เมื่อคุยกับชาวต่างชาติถ้าประยุกต์ ใช้วิธีนี้อย่างต่อเนื่องภายในสามถึงหกเดือน โดยวันละประมาณสามชั่วโมง จะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
3. การเลือกเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเมื่อฝึกฟังภาษาอังกฤษ
ถ้าคุณเลือกบทความเพื่อฝึกทักษะการฟังแต่เนื้อหายากมากไป แม้จะฝึกไปนานแค่ไหนก็ไม่ได้ผลอย่างที่หวัง เพราะมันจะเป็นการกดดันเกินไป ดังนั้นเราควรเริ่มจากบทความที่ง่าย เหมาะกับความสามารถของตัวเอง เมื่อคุณพอเข้าใจสี่งที่คุณฟังได้ คุณจะมีความกระตือรือร้นมากขึ้นสำหรับการฝึกฟัง แต่ถ้าคุณเลือกบทความที่ฟังยาก คุณจะจับความหมายไม่ได้ จะจำอะไรไม่ได้เหมือนกัน คำแนะนำสำหรับผู้เรียนที่เริ่มฝึกทักษะการฟังโดยตัวเองคือ เลือกประเภทของบทฟังเริ่มจากการแนะนำตัวเอง การทักทายและหัวข้อที่ใช้บ่อยในชีวติประจำวันก่อน ถึงจะปรับเป็นบทความที่ยาวขึ้นและยากไปเรื่อยๆ
4. อ่าน subtitle มากไปเพราะอยากเข้าใจเนื้อหาบทฟัง
ถ้าคุณฝึกฟังภาษาอังกฤษแต่เน้นการอ่านคำบรรยายหรือเรียกว่า subtitle มากไป จะทำให้คุยรู้สึกคิดที่จะพึ่งพาวิธีนี้ไปเรื่อย ๆ จนชินเพราะคิดว่ามันง่าย จนลืมประเด็นหลักไปว่าสิ่งที่ต้องการคือการฝึกฝน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้การพัฒนาเติบโตช้า ดังนั้นสี่งที่สำคัญเมื่อคุณฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษคือต้องเลือกบทฟังที่เหมาะสมก่อน ใช้เวลาพอสำควรในการฟัง อย่ารีบอ่าน subtitle หรือเนื้อเรื่องไปก่อน ก่อนหน้านั้นควรลองเดาว่าตัวเราเองเข้าใจบทความที่ได้ฟังมากน้อยขนาดไหน สำหรับบทความไหนที่ยาก เราสามารถฟังช้าลงและจดไว้เพื่อเทียบกับ Script ทีหลังเป็นวิธีที่ผู้เรียนหลายคนเคยทำตามและสำเร็จ มีความก้าวกระโดดในการใช้ทักษะการฟัง
5. ฝึกฟังภาษาอังกฤษอย่างหนัก แต่ไม่ขยันจดจำศัพท์ใหม่
ผู้เรียนบางคนพลาดที่คิดว่าเรื่องเรียนศัพท์ใหม่ไม่สำคัญ และไม่ขยันในการขยายคลังคำศัพท์ของตัวเองให้ได้มากขึ้น ทำให้เรียนไปนานแต่ยังอยู่ที่จุดเดิมๆ หรือบางคนรู้ความสำคัญของการเรียนศัพท์ใหม่แต่เรียนไม่ได้ ท้อแท้ง่ายเพราะยังหาไม่เจอวิธีการเรียนรู้ จดจำให้เหมาะสมกับตัวเอง ไม่สร้างสรรค์สำหรับการเรียนเลยเบื่อง่าย และเกิดการท้อแท้ในที่สุด
มีหลายวิธีเพื่อช่วยให้คุณในการเรียนคำศัพท์ใหม่ เช่น เรียนตามหัวข้อจากง่ายไประดับยาก เรียนคำศัพท์มีความหมายตรงข้าม พยายามตั้งประโยคหรือบทสนทนาเพื่อจดจำศัพท์ได้นาน เป็นต้น เมื่อเรามีคลังศัพท์พอใช้แล้วจะช่ายให้เราในการฟังได้ดีขึ้น และจะไม่เสียเวลาในการนั่งหาความหมายของศัพท์ในพจนานุกรม คุณสามารถใช้เวลานั้นเพื่อเรียนรู้สี่งใหม่ ที่มีผลประโยคต่อด้านการทำงานของคุณ ดังนั้นจะเห็นว่าทั้งสี่ทักษะ ฟัง พูด อ่าน และเขียน มีการเรียนรู้ที่ร่วมกันแบบที่เรียกว่าการบูรณาการนั่นเอง
6. เลือกแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ
ใครที่กำลังมองหาวิธีการฝึกทักษะการฟังก็ต้องหาแหล่งข้อมูลการฟังที่ดี ยอดเยี่ยม แต่สำหรับผู้เรียนที่เริ่มต้นบางที่ไม่ทราบเรื่องนี้ ชอบบทไหนก็ฟังบทนั้น คนพูดในบทความนั้นก็พูดไม่ชัดเจนทำให้เราพลาดตาม ดังนั้นสำหรับผู้เรียนออนไลน์สามารถเลือกฝึกทักษะการฟังในเว็บไซน์ชื่อดังเช่น
- 5-Minute English: เป็นเว็บไซต์ฝึกการฟังที่ดี มี Script พร้อมบททดสอบให้ผู้เรียนฝึกฟังภาษาอังกฤษเเละสามารถเทียบความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับบทความที่ได้ฟัง
- ESL Fast: แหล่งข้อมูลสำหรับผู้เรียนที่กำลังมองหาบทความฝึกฟัง มีให้มากถึง 365 เรื่องพร้อมแบบทดสอบและ Script เป็นเว็บไซต์ที่น่าสนใจและการันตีว่าได้ผลจริง
- ESL-Lab: เว็บไซต์เหมาะสำหรับทุกคน มีบทความใช้สำหรับการฝึกฟังตั้งแต่ระดับที่ง่ายไปถึงยากกับบทความการฟังที่หลากหลายให้เลือก
ควรเลือกตัวเว็บไซต์ที่มีคนรู้จักเยอะ มีชื่อเสียง มันจะรับรองว่าเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ น่าเชื่อถือ น่าเรียนรู้ และอย่าลืมเคล็ดลับสำหรับการพัฒนาทักษะการฟังคือ ต้องฟังให้เข้าใจ และกล้าสื่อสารกับชาวต่างชาติ ซึมซับกับภาษาไม่ว่าคุณจะกำลังนั่งรถเมล์ถึงที่ทำงานหรือกำลังออกกำลังกาย ทำกับข้าว เราก็สามารถฝึกฟังได้เช่นการฟังเพลง หรือดูหนังที่ชอบ
เคล็คคลับสำหรับการพัฒนาทักษะการฝึกฟัง
จริง ๆ แล้วแต่ละคนก็จะมีวิธีการเรียนที่แตกต่างกันไปแต่เขามีเป้าหมายที่เดียวกันคือ อยากเก่งภาษาอังกฤษ วันนี้ Eng Breaking จะแนะนำสองวิธีหลักๆ ที่คนมักจะใช้บ่อยเมื่อฝึกฟังภาษาอังกฤษดังนี้
1 – ฝึกฟังภาษาอังกฤษ – ฟังและจดไว้ถึงสิ่งที่ฟังได้
สำหรับวิธีนี้ผู้เรียนจะทำตามสามขั้นตอนง่ายๆ
ขั้นตอนที่ 1: เลือกแหล่งข้อมูลการฟังที่เหมาะสม และเป็นหัวข้อที่คุณชอบพร้อมมี script
ขั้นตอนที่ 2: ฟังบทความและจอดไว้เนื้อหาที่คุณฟังได้ ตรงไหนฟังยากคุณสามารถฟังย้ำไปย้ำมา 2-3 ครั้ง สำหรับผู้เรียนระดับพื้นฐาน ควรฟังทีละประโยคแล้วจดไว้ สำหรับคนที่ฟังได้อยู่ระดับกลางคุณสามารถจดเนื้อหาไว้หลังจากประโยคที่ 3-5 สำหรับคนที่ฟังได้ในระดับใดระดับหนึ่งคุณลองฟังให้จบรอบหนึ่งแล้วตั้งสติดูว่าตัวเองเพิ่งฟังอะไรหลังจากนั้นก็จดเอาไว้
ขั้นตอนที่ 3: เทียบสี่งที่คุณจดไว้กับ script ของบทฟัง ดูว่าตัวเองฟังได้กี่เปอร์เซ็น หลังจากนั้นใช้พจนานุกรมเพื่อหาความหมายของศัพท์และวิธีที่เขียนและการออกเสียงที่ถูกต้องไปพร้อมกันจะทำให้คุณเข้าใจเนื้อหาบทความและจำศัพท์ใหม่ได้ดี
2 – ฝึกฟังภาษาอังกฤษ – ฟังและออกเสียงตาม
ผู้เรียนหลายคนน่าจะชอบวิธีเรียนนี้เพราะมันสามารถช่วยคุณพัฒนาทั้งสองทักษะไปด้วยกันคือ ฟังกับพูด เพราะบางที่คุณฟังไม่ออกเพราะเจอศัพท์ใหม่หรือไม่ฟังไม่คุ้นหู ดังนั้นถ้าคุณลองออกเสียงตามสิ่งที่ฟังได้ จะทำให้สามารถฟังได้ง่ายขึ้นเมื่อเจอศัพท์นั้นอีกที่ในบทความอื่นๆ เเละจะฝึกได้ทั้งสองทักษะการฟังเเละ ฝึกพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: เลือกบทความที่เหมาะสมกับตัวเอง สำหรับผู้เรียนที่เริ่มจากระดับพื้นฐานคุณลองฟังบทความที่ยาวประมาณ ห้านาทีที่มีระดับความเร็วที่ไม่มากเกินไป บทความที่มีคนพูดชัดเจน และเลือกคือหัวข้อที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวันก่อน
ขั้นตอนที่ 2: ฟังไป 2-3 ครั้งแบบไม่ดู script
ขั้นตอนที่ 3: อ่าน tapescript/ subtitile เพื่อเข้าใจเนื้อหาของบทความ
ขั้นตอนที่ 4: ฟังทีละประโยคแล้วพูดตามสิ่งที่ฟังได้ยิน วิธีนี้ได้เรียกว่า shadowing เหมาะสำหรับผู้เรียนทุกคนที่กำลังอยากเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง และเน้นการสื่อสารเป็นหลัก
หลังจากที่เห็นว่าทักษะการฟังของตัวเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาของหัวข้อที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำแล้วคุณลองขยายบทฟังเป็นหลากหลายหัวข้อ สามารถเลือกหนัง ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ที่คุณชอบ หรือเพลงโปรด แล้วออกเสียงตามคนที่คุณชอบ เมื่อเริ่มต้นจากสิ่งที่เราชอบและมีวิธีการเรียนที่ถูกต้อง มีเป้าหมายชัดเจนในการเรียนจะทำให้การเรียนของคุณมีผลดี ประหยัดเวลา และบรรลุเป้าหมายในที่สุดอย่าลืมติดตาม Eng Breaking เพื่อรับเคล็ดลับดีๆ ช่วยให้คุณเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยคุณเรียนที่ไหนก็ได้เพียงมีโทรศัพท์งมือถือถ้าคุณเห็นบทความนี้มีผลประโยคอย่าลืมกดแชร์ในเฟสและไลน์เพื่อเเบ่งบันข้อมูลดีๆ ให้เพื่อนๆ ของคุณทราบวิธีการเรียนที่ดี เรียนไปพร้อมกันเพื่อจะได้ผลที่ดีและได้ผลจริง
ไม่พลาดกับบทความนี้: ฝึกฟังภาษาอังกฤษรับรองเป๊ะเวอร์ คุณลองหรือยัง?